เลนส์โปรเกรสซีฟ Hoyalux iD Lifestyle 4
Hoyalux iD Lifestyle 4
เลนส์โปรเกรสซีฟเทคโนโลยีระดับพรีเมี่ยมที่จะช่วยให้ผู้สวมใส่ปรับตัวเข้ากับเลนส์ได้ง่าย สบายตา แม้ใส่เป็นครั้งแรก
กว่า 30% ของผู้สวมใส่แว่นตากังวลว่าจะไม่สามารถปรับตัวเข้ากับเลนส์โปรเกรสซีฟคู่ใหม่ได้
เทคโนโลยีหลักในเลนส์โปรเกรสซีฟ Hoyalux iD Lifestyle 4
-
3D Binocular Vision เพิ่มความสบายตา ลดการบิดเบี้ยว อันเกิดจากภาพที่แกว่งไปมา
-
Binocular Eye Model เพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นทั้งสองตา
-
Binocular Harmonization Technology โฟกัสได้อย่างนุ่มนวล เพิ่มความนิ่งในการมองเห็นและรับรู้ความลึกได้อย่างสมบูรณ์แบบ
-
Integrated Double Surface Design ภาพบิดเบือนลดลง ลดการเคลื่อนไหวของดวงตา เพื่อให้การมองเห็นอย่างสบายตามากขึ้น
พร้อม 3 ดีไซน์ในเลนส์ Hoyalux iD Lifestyle 4 ให้เลือกสรรสำหรับไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกันของผู้สวมใส่
-
Lifestyle 4 Indoor เหมาะสำหรับ ผู้ที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ภายในอาคาร เช่น ผู้ที่ทำงานในสำนักงานหรือพักผ่อนในบ้าน
คุณสมบัติ ให้พื้นที่การมองเห็นในระยะใกล้ที่กว้าง และ เปลี่ยนระยะการมองได้สบายตากว่า
-
Lifestyle 4 Urban เหมาะสำหรับ ผู้สวมใส่ที่มีกิจกรรมทั้งในอาคารและกลางแจ้ง
คุณสมบัติ ให้พื้นที่การมองเห็นใกล้เคียงกันทั้งระยะไกล กลาง ใกล้
-
Lifestyle 4 Outdoor เหมาะสำหรับ ผู้ที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กลางแจ้ง เช่น ทำงานนอกอาคาร หรือผู้ที่ชื่นชอบการเล่นกีฬา
คุณสมบัติ ให้การมองเห็นระยะไกลที่กว้างและชัดเจนกว่า
1.50 1.60 1.67 1.74 …ตัวเลขกำกับเหล่านี้ที่เราเห็นกันในขณะเลือกชมสินค้าประเภทเลนส์แว่นตา เราเรียกว่า Refractive Index ของเลนส์ หรือถ้าให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ก็เปรียบเสมือนกับ “วัสดุ” ที่นำมาใช้ในการผลิตเลนส์
แรกเริ่มเดิมที วัสดุหรือน้ำยาสารตั้งต้น เหล่านี้เป็นของเหลว ก่อนที่จะถูกหลอมขึ้นเป็นชิ้นเลนส์ แต่ก็มีวัสดุบางชนิดที่สารตั้งต้นเป็นของแข็ง เช่น Polycarbonate ซึ่งเป็นวัสดุสำหรับทำเลนส์นิรภัยน้ำยาหรือวัสดุที่นำมาใช้ก่อนหลอมเป็นเลนส์มีด้วยกันอยู่หลายชนิดได้แก่
CR39 , MR8 , MR7 , MR174 หรืออาจจะมีชื่ออื่นๆแล้วแต่บริษัทที่คิดค้นน้ำยาขึ้น
แต่ละวัสดุเมื่อถูกหล่อขึ้นมาเป็นเลนส์จะมีคุณสมบัติของเลนส์ที่ต่างกันในแง่กำลังการหักเหแสง และความหนาบางของเลนส์ที่ได้
วัสดุ CR39 เมื่อถูกหล่อขึ้นมาเป็นชิ้นเลนส์จะมีค่ากำลังการหักเหแสงที่ 1.5 หรือเป็นค่ามาตรฐาน
ในขณะที่ วัสดุ MR174 เมื่อถูกหล่อขึ้นเป็นชิ้นเลนส์จะทำให้เลนส์ชิ้นนั้นมีค่ากำลังการหักเหแสงที่ 1.74 ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่า
Credit Picture https://www.optometrists.org/general-practice-optometry/optical/guide-to-optical-lenses/guide-to-high-index-lenses/
เลนส์ที่มีกำลังการหักเหแสงที่มากกว่าจะทำให้เลนส์ชิ้นนั้นมีความหนาเลนส์ที่น้อยกว่าหรือบางมากขึ้น
- วัสดุ CR39 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.50 ความหนาของเลนส์อยู่ในระดับมาตรฐาน
- วัสดุ MR8 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.60 ความหนาของเลนส์จะมีความบางมากขึ้น 20% เมื่อเทียบกับเลนส์ที่ดัชนีหักเหแสง index 1.50
- วัสดุ MR7 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.67 ความหนาของเลนส์จะมีความบางมากขึ้น 30% เมื่อเทียบกับเลนส์ที่ดัชนีหักเหแสง index 1.50
- วัสดุ MR174 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.74 ความหนาของเลนส์จะมีความบางมากขึ้น 40% เมื่อเทียบกับเลนส์ที่ดัชนีหักเหแสง index 1.50
สรุปและทำความเข้าใจง่ายๆได้ว่ายิ่ง ดัชนีหักเหแสงยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เลนส์ที่ได้จะมีความบางและเบามากขึ้น
Tips
- เลนส์ที่มีค่า Index 1.50 เหมาะสำหรับผู้ที่มีค่าสายตาไม่มาก รวมถึงผู้ที่เลือกใช้กรอบประเภทกรอบเต็ม
- เรามักเรียกเลนส์ที่มีค่า Refractive index สูงว่า เลนส์ย่อบาง เลนส์ย่อบางเหมาะสำหรับคนที่มีค่าสายตามากๆ เพื่อให้เวลาที่นำเลนส์เข้ากรอบแล้วตัวเลนส์ไม่ล้นออกนอกกรอบแว่นตา และช่วยทำให้ตัวแว่นนั้นมีน้ำหนักไม่หนักจนเกินไป
- การเลือกกรอบแว่นตาก็เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลือก Index ของเลนส์เช่นกันโดยเฉพาะผู้ที่ใช้กรอบแว่นตาชนิดไร้กรอบ หรือ กรอบเซาะร่อง อาจจะต้องพิจารณาใช้วัสดุเลนส์ Index 1.60 ขึ้นไปเนื่องจากตัวเลนส์จะมีความแข็งแกร่งที่มากกว่าวัสดุเลนส์ Index 1.50 การเลือกวัสดุเลนส์ Index 1.60 ขึ้นไปจะลดความเสี่ยงในการเกิดการกระเทาะแตกของเลนส์ได้