เลนส์ชั้นเดียว Carl Zeiss Clearview Blueguard (stock)
เลนส์ชั้นเดียวป้องกันแสงสีฟ้า CARL ZEISS CLEARVIEW BLUEGUARD
เลนส์สายตาที่ช่วยปกป้องดวงตาจากอุปกรณ์ดิจิตอลด้วยเทคโนโลยี BlueGuard ที่มีคุณสมบัติการป้องกันแสงสีน้ำเงินจากเนื้อเลนส์
มาพร้อมด้วยเทคโนโลยีการขัดผิวเลนส์แบบฟรีฟอร์ม เพื่อให้ได้เลนส์ที่ความละเอียดสูงสุด โดยใช้การคำนวณถึง 700 จุดพารามิเตอร์บนผิวเลนส์
ด้วยเทคโนโลยีการผิวเลนส์แบบฟรีฟอร์มช่วยให้
-เลนส์มีความบางและแบนมากขึ้น
โดยให้เลนส์มีความบางมากขึ้น 16%และแบนมากขึ้น 49%
-มุมมองกว้างขึ้น X3 เท่า
ให้มุมมองความคมชัดกว้างขึ้น X3 เท่า ช่วยให้การมองเห็นชัดเจนตั้งแต่จุดศูนย์กลางของเลนส์ไปถึงมุมมองด้านข้างเลนส์
-เทคโนโลยีการป้องกันแสงสีน้ำเงินจากอุปกรณ์ดิจิตอล ด้วย Zeiss BlueGuard Lens
1.ป้องกันแสงสีน้ำเงินที่ก่อให้เกิดอันตรายและสามารถป้องกันแสง UV ได้ 100%
2.ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ ผู้ที่มีปัญหาตาล้าจากการใช้อุปกรณ์ดิจิตอล
3.เพิ่มความดูดีทั้งออนไลน์และในชีวิตประจำวัน มีแสงสะท้อนรบกวนที่น้อยลงเพื่อความคมชัดที่ดีเยี่ยม
-มาพร้อมกับการปกป้องดวงตาจากรังสียูวีอย่างเต็มรูปแบบ
สามารถป้องกันรังสียูวีได้สูงสุดถึง 400 nm ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางตาและโรคผิวหนังบริเวณรอบดวงตา
-เทคโนโลยีการเคลือบผิวเลนส์ด้วย Zeiss Duravision Platinum Coating
ด้วยเลนส์ Zeiss ที่ใช้สารเคลือบผิวเลนส์ที่เรียกว่า DuraVision® ช่วยเสริมเลนส์ให้มีความทนทานและลดแสงสะท้อนช่วยให้เลนส์มีความใสและเสริมให้ผู้ใช้งานมองเห็นได้ชัดเจน
คุณสมบัติ Zeiss Duravision Platinum
1.ลดการเกิดรอยขีดขาวนที่ผิวเลนส์
2.ลดการเกิดคราบรอยนิ้วมือและคราบฝุ่นบนผิวเลนส์
3.ง่ายต่อการำความสะอาด
4.ตัดแสงสะท้อนเพิ่มความสวยงามให้กับเลนส์
1.50 1.60 1.67 1.74 …ตัวเลขกำกับเหล่านี้ที่เราเห็นกันในขณะเลือกชมสินค้าประเภทเลนส์แว่นตา เราเรียกว่า Refractive Index ของเลนส์ หรือถ้าให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ก็เปรียบเสมือนกับ “วัสดุ” ที่นำมาใช้ในการผลิตเลนส์
แรกเริ่มเดิมที วัสดุหรือน้ำยาสารตั้งต้น เหล่านี้เป็นของเหลว ก่อนที่จะถูกหลอมขึ้นเป็นชิ้นเลนส์ แต่ก็มีวัสดุบางชนิดที่สารตั้งต้นเป็นของแข็ง เช่น Polycarbonate ซึ่งเป็นวัสดุสำหรับทำเลนส์นิรภัยน้ำยาหรือวัสดุที่นำมาใช้ก่อนหลอมเป็นเลนส์มีด้วยกันอยู่หลายชนิดได้แก่
CR39 , MR8 , MR7 , MR174 หรืออาจจะมีชื่ออื่นๆแล้วแต่บริษัทที่คิดค้นน้ำยาขึ้น
แต่ละวัสดุเมื่อถูกหล่อขึ้นมาเป็นเลนส์จะมีคุณสมบัติของเลนส์ที่ต่างกันในแง่กำลังการหักเหแสง และความหนาบางของเลนส์ที่ได้
วัสดุ CR39 เมื่อถูกหล่อขึ้นมาเป็นชิ้นเลนส์จะมีค่ากำลังการหักเหแสงที่ 1.5 หรือเป็นค่ามาตรฐาน
ในขณะที่ วัสดุ MR174 เมื่อถูกหล่อขึ้นเป็นชิ้นเลนส์จะทำให้เลนส์ชิ้นนั้นมีค่ากำลังการหักเหแสงที่ 1.74 ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่า
Credit Picture https://www.optometrists.org/general-practice-optometry/optical/guide-to-optical-lenses/guide-to-high-index-lenses/
เลนส์ที่มีกำลังการหักเหแสงที่มากกว่าจะทำให้เลนส์ชิ้นนั้นมีความหนาเลนส์ที่น้อยกว่าหรือบางมากขึ้น
- วัสดุ CR39 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.50 ความหนาของเลนส์อยู่ในระดับมาตรฐาน
- วัสดุ MR8 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.60 ความหนาของเลนส์จะมีความบางมากขึ้น 20% เมื่อเทียบกับเลนส์ที่ดัชนีหักเหแสง index 1.50
- วัสดุ MR7 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.67 ความหนาของเลนส์จะมีความบางมากขึ้น 30% เมื่อเทียบกับเลนส์ที่ดัชนีหักเหแสง index 1.50
- วัสดุ MR174 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.74 ความหนาของเลนส์จะมีความบางมากขึ้น 40% เมื่อเทียบกับเลนส์ที่ดัชนีหักเหแสง index 1.50
สรุปและทำความเข้าใจง่ายๆได้ว่ายิ่ง ดัชนีหักเหแสงยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เลนส์ที่ได้จะมีความบางและเบามากขึ้น
Tips
- เลนส์ที่มีค่า Index 1.50 เหมาะสำหรับผู้ที่มีค่าสายตาไม่มาก รวมถึงผู้ที่เลือกใช้กรอบประเภทกรอบเต็ม
- เรามักเรียกเลนส์ที่มีค่า Refractive index สูงว่า เลนส์ย่อบาง เลนส์ย่อบางเหมาะสำหรับคนที่มีค่าสายตามากๆ เพื่อให้เวลาที่นำเลนส์เข้ากรอบแล้วตัวเลนส์ไม่ล้นออกนอกกรอบแว่นตา และช่วยทำให้ตัวแว่นนั้นมีน้ำหนักไม่หนักจนเกินไป
- การเลือกกรอบแว่นตาก็เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลือก Index ของเลนส์เช่นกันโดยเฉพาะผู้ที่ใช้กรอบแว่นตาชนิดไร้กรอบ หรือ กรอบเซาะร่อง อาจจะต้องพิจารณาใช้วัสดุเลนส์ Index 1.60 ขึ้นไปเนื่องจากตัวเลนส์จะมีความแข็งแกร่งที่มากกว่าวัสดุเลนส์ Index 1.50 การเลือกวัสดุเลนส์ Index 1.60 ขึ้นไปจะลดความเสี่ยงในการเกิดการกระเทาะแตกของเลนส์ได้