เลนส์ชะลอสายตาสั้นในเด็ก Hoya Miyosmart
เลนส์ชะลอสายตาสั้นในเด็ก Hoya Miyosmart
ช่วงค่าสายตาผลิตได้
Index 1.59 Polycarbonate
รองรับค่าสายตาสั้นไม่เกิน -10.00 D /สายตาเอียงไม่เกิน -4.00 D
เลนส์ช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นในเด็ก
การเพิ่มขึ้นของปริมาณสายตาสั้นไม่ได้เพียงแต่ส่งผลกระทบการมองเห็นไม่ชัดเท่านั้น แต่เรากังวลถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นซึ่งเกิดจากการขยายขนาดของดวงตาในเด็ก และนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคตาในอนาคต
โดยจากผลการศึกษาพบว่าการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้น เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคตามากมายไม่ว่าจะเป็น ต้อกระจก ต้อหิน จอประสาทตาหลุดลอก หรือภาวะจอประสาทตาเสื่อมที่เกิดจากภาวะสายตาสั้นได้ (myopic macular degeneration)
โดยจากผลการศึกษาพบว่า
ในบุคคลที่มีภาวะสายตาสั้นมาก -7.00 D
มีความเสี่ยงในเกิดภาวะจอประสาทตาเสื่อม(Myopic Maculopathy) มากกว่าคนที่มีสายตาปกติถึง 127 เท่า
มีความเสี่ยงในการเกิดจอประสาทตาหลุดลอก(Retinal Detachment) มากกว่าคนที่มีสายตาปกปกติถึง 44 เท่า
จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการกระตุ้นการเพิ่มขึ้นของภาวะสายตาสั้น เกิดจากสิ่งที่เรียกว่า Peripheral Hyperopic Defocus ซึ่งเป็นแสงที่เข้าสู่ดวงตาผ่านบริเวณขอบโดยรอบจุดศูนย์กลางของเลนส์ และไปโฟกัสบริเวณหลังจอรับภาพ สิ่งเหล่านี้ไปกระตุ้นการขยายตัวของกระบอกตาให้มีลักษณะที่ยืดยาวออกไป ทำให้เกิดเป็นภาวะสายตาสั้นที่เพิ่มมากขึ้น
เทคโนโลยีหลักใน Hoya Miyosmart
ออพชั่นเสริมในเลนส์ Miyosmart
เด็กๆ มีกิจกรรมหลากหลายในแต่ละวันจึงต้องการเลนส์แว่นตาที่ทำมาจากวัสดุที่มีความทนทานต่อแรงกระแทกสูงอย่าง Polycarbonate 1.59 ในเลนส์ Miyosmart
พร้อมปกป้องดวงตาจากด้วยเทคโนโลยีการเคลือบผิวชนิดต่างๆ
-
Miyosmart Coating
-
Fullcontrol
-
Chameleon (เลนส์เปลี่ยนสี)
-
Sunbird (เลนส์โพลาไรซ์)
1.50 1.60 1.67 1.74 …ตัวเลขกำกับเหล่านี้ที่เราเห็นกันในขณะเลือกชมสินค้าประเภทเลนส์แว่นตา เราเรียกว่า Refractive Index ของเลนส์ หรือถ้าให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ก็เปรียบเสมือนกับ “วัสดุ” ที่นำมาใช้ในการผลิตเลนส์
แรกเริ่มเดิมที วัสดุหรือน้ำยาสารตั้งต้น เหล่านี้เป็นของเหลว ก่อนที่จะถูกหลอมขึ้นเป็นชิ้นเลนส์ แต่ก็มีวัสดุบางชนิดที่สารตั้งต้นเป็นของแข็ง เช่น Polycarbonate ซึ่งเป็นวัสดุสำหรับทำเลนส์นิรภัยน้ำยาหรือวัสดุที่นำมาใช้ก่อนหลอมเป็นเลนส์มีด้วยกันอยู่หลายชนิดได้แก่
CR39 , MR8 , MR7 , MR174 หรืออาจจะมีชื่ออื่นๆแล้วแต่บริษัทที่คิดค้นน้ำยาขึ้น
แต่ละวัสดุเมื่อถูกหล่อขึ้นมาเป็นเลนส์จะมีคุณสมบัติของเลนส์ที่ต่างกันในแง่กำลังการหักเหแสง และความหนาบางของเลนส์ที่ได้
วัสดุ CR39 เมื่อถูกหล่อขึ้นมาเป็นชิ้นเลนส์จะมีค่ากำลังการหักเหแสงที่ 1.5 หรือเป็นค่ามาตรฐาน
ในขณะที่ วัสดุ MR174 เมื่อถูกหล่อขึ้นเป็นชิ้นเลนส์จะทำให้เลนส์ชิ้นนั้นมีค่ากำลังการหักเหแสงที่ 1.74 ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่า
Credit Picture https://www.optometrists.org/general-practice-optometry/optical/guide-to-optical-lenses/guide-to-high-index-lenses/
เลนส์ที่มีกำลังการหักเหแสงที่มากกว่าจะทำให้เลนส์ชิ้นนั้นมีความหนาเลนส์ที่น้อยกว่าหรือบางมากขึ้น
- วัสดุ CR39 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.50 ความหนาของเลนส์อยู่ในระดับมาตรฐาน
- วัสดุ MR8 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.60 ความหนาของเลนส์จะมีความบางมากขึ้น 20% เมื่อเทียบกับเลนส์ที่ดัชนีหักเหแสง index 1.50
- วัสดุ MR7 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.67 ความหนาของเลนส์จะมีความบางมากขึ้น 30% เมื่อเทียบกับเลนส์ที่ดัชนีหักเหแสง index 1.50
- วัสดุ MR174 เมื่อขึ้นรูปเป็นชิ้นเลนส์แล้วจะทำให้เลนส์มีดัชนีหักเหแสง Index 1.74 ความหนาของเลนส์จะมีความบางมากขึ้น 40% เมื่อเทียบกับเลนส์ที่ดัชนีหักเหแสง index 1.50
สรุปและทำความเข้าใจง่ายๆได้ว่ายิ่ง ดัชนีหักเหแสงยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เลนส์ที่ได้จะมีความบางและเบามากขึ้น
Tips
- เลนส์ที่มีค่า Index 1.50 เหมาะสำหรับผู้ที่มีค่าสายตาไม่มาก รวมถึงผู้ที่เลือกใช้กรอบประเภทกรอบเต็ม
- เรามักเรียกเลนส์ที่มีค่า Refractive index สูงว่า เลนส์ย่อบาง เลนส์ย่อบางเหมาะสำหรับคนที่มีค่าสายตามากๆ เพื่อให้เวลาที่นำเลนส์เข้ากรอบแล้วตัวเลนส์ไม่ล้นออกนอกกรอบแว่นตา และช่วยทำให้ตัวแว่นนั้นมีน้ำหนักไม่หนักจนเกินไป
- การเลือกกรอบแว่นตาก็เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลือก Index ของเลนส์เช่นกันโดยเฉพาะผู้ที่ใช้กรอบแว่นตาชนิดไร้กรอบ หรือ กรอบเซาะร่อง อาจจะต้องพิจารณาใช้วัสดุเลนส์ Index 1.60 ขึ้นไปเนื่องจากตัวเลนส์จะมีความแข็งแกร่งที่มากกว่าวัสดุเลนส์ Index 1.50 การเลือกวัสดุเลนส์ Index 1.60 ขึ้นไปจะลดความเสี่ยงในการเกิดการกระเทาะแตกของเลนส์ได้